เมนู

นัยนี้เหมือนกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติทุกกฏ
เหมือนกันทั้งนั้น แก่ภิกษุผู้จับต้อง ด้วยความรักอาศัยเรือนว่า ผู้นี้
เป็นมารดาของเรา นี้เป็นธิดาของเรา นี้เป็นพี่น้องสาวของเรา เพราะ
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแม้ทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม เป็นธิดาก็ตาม เป็นข้าศึก
แก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น.
ก็เมื่อภิกษุระลึกถึงพระอาญานี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้นว่า
เห็นมารดาถูกกระแสน้ำพัดไป ไม่ควรจับต้องด้วยมือเลย. แต่ภิกษุผู้ฉลาด
พึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน หรือท่อนกล้วย หรือท่อนไม้เข้าไปให้
เมื่อเรือเป็นต้นนั้นไม่มี แม้ผ้ากาสาวะนำไปวางไว้ข้างหน้า แต่ไม่ควร
กล่าวว่า จงจับที่นี้. เมื่อท่านจับแล้ว พึงสาวมาด้วยทำในใจว่า เราสาว
บริขารมา. ก็ถ้ามารดากลัว พึงไปข้างหน้า ๆ แล้วปลอบโยนว่า อย่ากลัว
ถ้ามารดาถูกน้ำพัดไปรีบขึ้นคอ หรือจับที่มือของภิกษุผู้เป็นบุตร ภิกษุ
อย่าพึงสลัดว่า หลีกหนีไป หญิงแก่ พึงส่งไปให้ถึงบก. เมื่อมารดา
ติดหล่มก็ดี ตกลงไปในบ่อก็ดี มีนัยเหมือนกันนี้. อธิบายว่า ภิกษุพึง
ฉุดขึ้น แต่อย่าพึงจับต้องเลย.

[อธิบายวัตถุที่เป็นอนามาส]


ก็มิใช่แก่ร่างกายของมาตุคามอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอนามาส แม้
ผ้านุ่งและผ้าห่มก็ดี สิ่งของเครื่องประดับก็ดี จนชั้นเสวียนหญ้าก็ตาม
แหวนใบตาลก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น. ก็แลผ้านุ่งและผ้าห่มนั้นตั้งไว้
เพื่อต้องการใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น. ก็ถ้าหากว่ามาตุคามวางผ้านุ่ง
หรือผ้าห่มไว้ในที่ใกล้เท้า เพื่อต้องการให้เปลี่ยนเป็นจีวร ผ้านั้น

สมควร. ก็บรรดาเครื่องประดับ ภัณฑะที่เป็นกัปปิยะ มีเครื่องประดับศีรษะ
เป็นต้น อันมาตุคามถวายว่า ท่านเจ้าคะ ขอพระคุณท่านโปรดรับสิ่งนี้
เถิด ภิกษุควรรับไว้ เพื่อเป็นเครื่องใช้ มีฝักมีดโกนและเข็มเป็นต้น.
ส่วนภัณฑะที่ทำด้วยทอง เงิน และแก้วมุกดาเป็นต้น เป็นอนามาสแท้
ถึงแม้เขาถวาย ก็ไม่ควรรับ.
อนึ่ง มิใช่แต่เครื่องประดับที่สวมร่างกาย ของหญิงเหล่านั้น
อย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นอนามาส. ถึงรูปไม้ก็ดี รูปงาก็ดี รูปเหล็กก็ดี
รูปดีบุกก็ดี รูปเขียนก็ดี รูปที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่างก็ดี ที่เขากระทำ
สัณฐานแห่งหญิง ชั้นที่สุดแม้รูปที่ปั้นด้วยแป้ง ก็เป็นอนามาสทั้งนั้น.
แต่ได้ของที่เขาถวายว่า สิ่งนี้จงเป็นของท่าน เว้นของที่สำเร็จด้วยรัตนะ
ทุกอย่าง ทำลายรูปที่เหลือ น้อมเอาสิ่งพี่ควรเป็นเครื่องอุปกรณ์เข้าใน
เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งที่ควรใช้สอย เข้าในของสำหรับใช้สอยเพื่อ
ประโยชน์แก่การใช้สอย ควรอยู่.
อนึ่ง แม้ธัญชาติ 7 ชนิด ก็เป็นอนามาสเช่นเดียวกับรูปสตรี
ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เมื่อเดินไปกลางทุ่งนา อย่าเดินจับต้องเมล็ด
ธัญชาติแม้ที่เกิดอยู่ในทุ่งนานั้นไปพลาง. ถ้ามีธัญชาติที่เขาตากไว้
ที่ประตูเรือน หรือที่หนทาง และด้านข้างมีทางเดิน อย่าเดินเหยียบ
ย่ำไป. เมื่อทางเดินไม่มี พึงอธิษฐานให้เป็นทางแล้วเดินไปเถิด. คน
ทั้งหลายปูลาดอาสนะถวายบนกองธัญชาติในละแวกบ้าน จะนั่งก็ควร.
ชนบางพวกเทธัญชาติกองไว้ในโรงฉัน ถ้าอาจจะให้นำออกได้ ก็พึง
ให้นำออก ถ้าไม่อาจ อย่าเหยียบย่ำธัญชาติ พึงตั้งตั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

แล้ว นั่งเถิด. ถ้าไม่มีโอกาส พวกชาวบ้านปูลาดอาสนะถวายตรง
ท่ามกลางธัญชาตินั้นเอง พึงนั่งเถิด. แม้ในธัญชาติที่อยู่บนเรือ ก็มีนัย
อย่างนี้เหมือนกัน. แม้อปรัณชาติมีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี ผลไม้
มีตาลและขนุนเป็นต้นก็ดี ที่เกิดในที่นั้น ภิกษุไม่ควรจับเล่น. แม้ใน
อปรัณชาติและผลไม้ที่ชาวบ้านรวมกองไว้ ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. แต่
การที่ภิกษุจะถือเอาผลไม้ที่หล่นจากต้นในป่า ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่
พวกอนุปสัมบัน ควรอยู่.

[ว่าด้วยรัตนะ 10 ประการ]


บรรดารัตนะ 10 ประการเหล่านี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์
ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม บุษราคัม มุกดาตามธรรมชาติ
ยังไม่ได้เจียระไนและเจาะ ภิกษุจะจับต้องได้อยู่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
รัตนะที่เหลือ เป็นอนามาส แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า มุกดา ที่
เจียระไนแล้วก็ดี ที่ยังไม่เจียระไนก็ดี เป็นอนามาส และภิกษุรับเพื่อ
ประโยชน์เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ย่อมไม่ควร แต่จะรับเพื่อเป็นยาแก่คน
เป็นโรคเรื้อน ควรอยู่. มณีชนิดสีเขียวและเหลืองเป็นต้น แม้ทั้งหมด
โดยที่สุดจนกระทั่งแก้วผลึกธรรมชาติที่เขาขัด เจียระไนและกลึงแล้ว เป็น
อนามาส. แต่มณีตามธรรมชาติพ้นจากบ่อเกิด ท่านกล่าวว่า ภิกษุจะรับ
เอาไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของมีบาตรเป็นต้น ก็ควร. แม้มณีนั้น ท่าน
ห้ามไว้ในมหาปัจจรี. กระจกแก้ว ที่เขาหุงทำไว้อย่างเดียวเท่านั้น ท่าน
กล่าวว่า ควร. แม้ในไพฑูรย์ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับแก้วมณี. สังข์